ระบบงานขายสินค้า (Sale Management) | 1. การจัดการลูกค้า (Customer Management) - สร้างข้อมูลลูกค้าได้จากเลขทะเบียนนิติบุคคล
- บันทึกข้อมูลลูกค้า เช่น ชื่อ, เบอร์โทรศัพท์, อีเมล, และที่อยู่
- จัดหมวดหมู่ลูกค้าตามประเภท เช่น ลูกค้าใหม่, ลูกค้าประจำ, หรือกลุ่มเป้าหมาย
- บันทึกประวัติการติดต่อและการซื้อขายของลูกค้า
2. การจัดการใบเสนอราคา (Quotations Management) - รองรับการสร้างใบเสนอราคาจาก เทมเพลต ที่สามารถตั้งรายการสินค้าและราคาขายล่วงหน้าได้
- ระบบ Pricelists ช่วยตั้งค่าราคาเฉพาะลูกค้า หรือกลุ่มลูกค้าได้อย่างยืดหยุ่น
- เพิ่ม กฎระเบียบและเงื่อนไขการขาย ในใบเสนอราคา เช่น นโยบายการคืนสินค้า เพื่อให้ลูกค้ารับทราบก่อนยืนยันการสั่งซื้อ
3. การจัดการใบสั่งขาย (Sales Order Management) - สามารถทยอยส่งสินค้าได้จนกว่าจะครบตามคำสั่งซื้อ
- ยกเลิกคำสั่งซื้อได้ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
- สร้างรายการสินค้าค้างส่งอัตโนมัติสำหรับติดตามในครั้งถัดไป
- รองรับการตั้งค่าที่อยู่ใบสั่งซื้อและที่อยู่จัดส่งแยกกัน
4. การจัดการเอกสาร (Document Management) - ออกเอกสารสำคัญ เช่น ใบสั่งขาย (Sales Order), ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี (Invoice/Tax Invoice)
- ส่งใบเสนอราคาผ่านอีเมลโดยตรง พร้อมติดตามสถานะการเปิดอ่าน
5. ระบบโปรโมชั่นและส่วนลด (Discount & Loyalty Programs) - รองรับการสร้าง คูปองส่วนลด และโปรโมชั่นเฉพาะกิจกรรมหรือลูกค้า
- จัดการระบบสะสมคะแนน (Loyalty) สำหรับลูกค้าที่ซื้อสินค้าต่อเนื่อง
6. ระบบคำนวณค่าขนส่ง (Shipping Calculation) - รองรับการคำนวณค่าขนส่งอัตโนมัติตามผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เช่น DHL หรือ FedEx
- เพิ่มราคาขนส่งในใบสั่งซื้อหรือใบเสนอราคาได้
7. Upsell & Cross-Sell กำหนดเงื่อนไขสินค้าที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ระบบแนะนำสินค้าราคาสูงขึ้นหรือสินค้าร่วมตามที่ต้องการ - Upsell (การขายสินค้าราคาสูงกว่า) เป็นการแนะนำสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น หรือมีคุณสมบัติที่ดีกว่าให้กับลูกค้าเมื่อพวกเขากำลังตัดสินใจซื้อสินค้า
- Cross-Sell (การขายสินค้าร่วม) การแนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้องหรือสินค้าร่วมที่ลูกค้าสามารถซื้อเพิ่มเติมได้เพื่อเสริมการใช้งานของสินค้าที่ซื้อ
8. การเก็บประวัติการแก้ไขเอกสาร (Document History) - เก็บประวัติการแก้ไขเอกสารใบเสนอราคา (Quotations) และใบสั่งขาย (Sale Orders)
- ช่วยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง เช่น วันที่แก้ไข ผู้แก้ไข และเนื้อหาเดิมที่ถูกเปลี่ยนเพิ่มความโปร่งใสและลดข้อโต้แย้งระหว่างทีมงาน
9. รายงานการขาย (Sales Reports) - แสดงรายงานยอดขายแยกตามลูกค้า, สินค้า,หรือกลุ่มสินค้า
- แสดงรายงานยอดขายเปรียบเทียบ เช่น รายเดือน,รายไตรมาส, และรายปี
|
ระบบจัดการคลังสินค้า (Inventory Management) | 1.การจัดการคลังและตำแหน่งสินค้า (Warehouse & Locations) - รองรับการจัดการคลังสินค้าหลายแห่ง พร้อมตำแหน่งเก็บสินค้า
- ระบบติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์
2.การจัดการกระบวนการจัดเก็บ (Stock Operations) - รองรับการจัดการเคลื่อนย้ายสินค้าตามหลัก FIFO, LIFO, FEFO
- บันทึกและติดตามสินค้าโดยใช้หมายเลข Lot/Serial
3.การปรับยอดคลังสินค้า (Inventory Adjustments) - รองรับการปรับยอดคลังสินค้าในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาด หรือต้องการปรับตามรอบนับสต็อก
- การเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังหรือระหว่างคลัง (Internal Transfers)
- รองรับการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังหรือระหว่างคลัง เพื่อจัดการการเคลื่อนย้ายที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่น
4.การบันทึกประวัติเอกสาร (Document History) - ระบบบันทึกและแสดงประวัติการแก้ไขเอกสาร เพื่อการตรวจสอบย้อนหลัง
5.การพิมพ์เอกสารที่กำหนดเอง (Custom Document Printing) - รองรับการพิมพ์เอกสารส่งของ/ รับของตามรูปแบบที่กำหนด
- รองรับการพิมพ์เอกสารแปะหลังพัสดุ
6.การจัดการบาร์โค้ด (Barcode Management) - รองรับการพิมพ์ Label Barcode สำหรับสินค้าแต่ละชิ้น ช่วยในการติดตามและตรวจสอบสินค้าอย่างรวดเร็ว
- รายงานสินค้าคงคลังปัจจุบัน,การเคลื่อนย้ายสินค้า, และมูลค่าสินค้าคงเหลือ
7.การจัดการต้นทุนเพิ่มเติม (Landed Costs Management) - รายงานต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนต่อหน่วย
- ระบบคำนวณต้นทุนสินค้าเพิ่มเติม เช่น ค่าขนส่ง ค่าธรรมเนียม และค่าภาษีเพื่อให้การคำนวณต้นทุนสินค้าเป็นไปอย่างครบถ้วน
8.รายงานการจัดเติมสินค้า (Replenishment Reports) - รายงานการจัดเติมสินค้า (Replenishment) โดยแสดงความต้องการเติมสินค้าในแต่ละคลัง เพื่อช่วยในการจัดการสต็อกให้มีประสิทธิภาพ
9.การระบุ Description สำหรับ Receipts และ Delivery Orders - รองรับการระบุคำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับการรับสินค้า (Receipts) และการจัดส่งสินค้า (Delivery Orders) ช่วยให้การจัดการเอกสารทั้งสองประเภทมีความชัดเจนและครอบคลุม
10.การรายงานคลังสินค้า (Inventory Reports) - รายงานสินค้าคงคลังปัจจุบัน, การเคลื่อนย้ายสินค้า, และมูลค่าสินค้าคงเหลือ
- รายงานต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนต่อหน่วย
|
ระบบจัดซื้อ (Purchase Management) | 1. การจัดการผู้จำหน่าย (Vendor Management) - สร้างข้อมูลผู้จำหน่ายได้จากเลขทะเบียนนิติบุคคล
- บันทึกข้อมูลผู้จำหน่าย เช่น ชื่อ, เบอร์โทรศัพท์, อีเมล, และที่อยู่
- จัดหมวดหมู่ผู้จำหน่ายตามประเภท เช่น ลูกค้าใหม่, ลูกค้าประจำ, หรือกลุ่มเป้าหมาย
- บันทึกประวัติการติดต่อและการซื้อขายของผู้จำหน่าย
2. การสร้างใบขอราคา (Requests for Quotation: RFQ) - สร้าง RFQ เพื่อส่งคำขอราคาไปยังผู้จำหน่ายหลายรายพร้อมกัน
- ติดตามสถานะ RFQ และใบสั่งซื้อ เช่น วันที่คาดว่าจะส่งมอบ
- ดูประวัติผู้จัดจำหน่ายและราคาที่เคยซื้อได้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกผู้จำหน่ายที่เหมาะสม
- รองรับการกำหนด สกุลเงินต่างประเทศ และ อัตราแลกเปลี่ยน เพิ่มความสะดวกและคล่องตัวในการซื้อ
3. การจัดการใบสั่งซื้อ (Purchase Orders) - ระบบกำหนดมูลค่าที่ต้องได้รับการอนุมัติก่อนสร้างใบสั่งซื้อ
- อ้างอิงข้อมูลผู้จำหน่ายสินค้าที่ต้องการแบบอัตโนมัติ
- ใบสั่งซื้อไม่สามารถแก้ไขได้หลังรับสินค้า เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด
- รองรับการพิมพ์ใบขอซื้อ (Purchase Requisition) ตามรูปแบบที่กำหนด
- รองรับการกำหนดหน่วยรับสินค้าตามเงื่อนไขของผู้จัดจำหน่าย เช่น จำนวนขั้นต่ำในการสั่งซื้อ
4. ระบบเติมสต็อกอัตโนมัติ (Reordering Rules) - ตั้งค่าจุด Safety Stock เพื่อเติมสต็อกเมื่อสินค้าถึงระดับต่ำสุด
- สร้างใบขอราคาอัตโนมัติจาก Reordering Rules
- ข้อมูลการจัดซื้อและสต็อกเชื่อมโยงกับระบบบัญชีแบบเรียลไทม์ เพื่อความถูกต้องและลดข้อผิดพลาด
5. การเก็บประวัติการแก้ไขเอกสาร (Document Revision History) - เก็บประวัติการแก้ไขเอกสารใบขอราคา (RFQ) และใบสั่งซื้อ (Purchase Orders)
- ช่วยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง เช่น วันที่แก้ไข ผู้แก้ไข และเนื้อหาเดิมที่ถูกเปลี่ยนเพิ่มความโปร่งใสและลดข้อโต้แย้งระหว่างทีมงาน
6. รายงานการจัดซื้อ (Purchase Reports) - แสดงรายงานสรุปการจัดซื้อ พร้อมการคาดการณ์สินค้าคงคลัง
- รายงานการเปรียบเทียบราคาจากผู้จำหน่ายหลายราย
- วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เช่น สินค้าที่ซื้อบ่อย ผู้จำหน่ายที่ได้รับคำสั่งซื้อมากที่สุด
|
ระบบการผลิต (Manufacturing Management)
| 1. สร้างคำสั่งผลิต (Manufacturing Orders - MO) - รองรับการสร้างคำสั่งผลิต (MO) เพื่อเริ่มกระบวนการผลิตสินค้าหรือวัตถุดิบ
- สามารถกำหนดจำนวนที่ต้องการผลิตได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการ
2. การกำหนดขั้นตอนการผลิต (Work Orders) และวัตถุดิบ (BOM) - รองรับการตั้งค่า Bill of Materials (BOM) เพื่อนิยามวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับการผลิตสินค้า
- รองรับ สูตรการผลิตหลายระดับ (Multi-level BOM) สำหรับสินค้าที่ซับซ้อน เช่น ชิ้นส่วนที่มีการผลิตซ้อนกันหลายชั้น
- จัดการขั้นตอนการผลิต (Work Orders) ให้เป็นระบบ พร้อมแสดงสถานะการดำเนินงานของแต่ละขั้นตอน
3. การจัดการ Work Centers (ศูนย์การทำงาน) - บริหารจัดการศูนย์การทำงาน เช่น สถานีผลิต เครื่องจักร หรืออุปกรณ์
- กำหนด เส้นทางการผลิต (Routing) เพื่อกำหนดลำดับขั้นตอนการผลิตแต่ละขั้นตอน
- รองรับการตั้งค่า ระยะเวลาการผลิต (Lead Time) และการกำหนดลำดับขั้นตอนการทำงาน
4. รูปแบบการผลิตที่หลากหลาย - รองรับการผลิตแบบ Make to Order (MTO) เมื่อมีคำสั่งซื้อจากลูกค้า
- รองรับการผลิตแบบ Make to Stock (MTS) เพื่อเก็บสินค้าในคลัง
5. การจัดการวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง - รองรับการโอนย้ายสินค้าระหว่างคลังสินค้าได้อย่างสะดวก
- ติดตามวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปโดยใช้ Lot Number หรือ Serial Number เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบ
- อัปเดตสถานะและจำนวนสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์
6. การจัดการสินค้าชำรุดและเสียหาย (Scrap Management) - บันทึกและติดตามสินค้าที่ชำรุดหรือเสียหายในกระบวนการผลิต
- แสดงรายงานจำนวนและประเภทของสินค้าชำรุด เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการ
7. การวิเคราะห์ต้นทุนและปรับปรุงกระบวนการผลิต - วิเคราะห์ต้นทุนการผลิต (Cost Analysis) เพื่อประเมินความคุ้มค่า
- ปรับปรุง BOM และกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน
8. ระบบบันทึกและแสดงประวัติการแก้ไขเอกสาร (Document History) - บันทึกประวัติการแก้ไขเอกสาร เช่น MO, BOM และ Work Orders
- แสดงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลง เช่น วันที่แก้ไข ผู้แก้ไข และเนื้อหาก่อน-หลังการแก้ไข
- ช่วยในการตรวจสอบและเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการผลิต
9. รายงานการผลิต (Production Reports) - แสดงรายงานต้นทุนการผลิต รายการสินค้าสำเร็จรูป และสถานะคำสั่งผลิต
- รายงานสินค้าชำรุด (Scrap) และวัตถุดิบที่ใช้จริง เทียบกับที่วางแผนไว้
|
ระบบตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control)
| 1. การตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิต (Manufacturing QC) - การตั้งค่าการตรวจสอบคุณภาพ: คุณสามารถตั้งค่าเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพในแต่ละขั้นตอนของการผลิต เช่น การตรวจสอบวัตถุดิบก่อนเริ่มการผลิต, การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิต, หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังการผลิต
- การสร้างจุดตรวจสอบ (Quality Points): ระบบสามารถกำหนดจุดตรวจสอบ (Quality Points) ในกระบวนการผลิต เช่น การวัดขนาด, การตรวจสอบความแข็งแรง, การทดสอบการทำงานของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
- การสร้างบันทึกตรวจสอบ: เมื่อถึงจุดตรวจสอบ คุณสามารถบันทึกผลการตรวจสอบได้ เช่น ผลลัพธ์ที่ผ่านการตรวจสอบหรือไม่ผ่านการตรวจสอบ
2. การตรวจสอบคุณภาพในการรับและส่งสินค้า (Inbound and Outbound QC) - การตรวจสอบสินค้าที่รับเข้าคลัง (Incoming QC):
- ระบบสามารถตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่รับเข้าคลัง เช่น วัตถุดิบหรือสินค้าจากซัพพลายเออร์ โดยสามารถกำหนดจุดตรวจสอบก่อนที่จะบันทึกรับสินค้าเข้าคลัง
- คุณสามารถกำหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบเช่น ขนาด, น้ำหนัก, การบรรจุภัณฑ์ หรือการตรวจสอบคุณภาพเชิงเทคนิคอื่นๆ
- การตรวจสอบสินค้าที่ส่งออกจากคลัง (Outgoing QC):
- การตรวจสอบสินค้าก่อนจัดส่งให้ลูกค้า โดยสามารถตรวจสอบว่าเป็นสินค้าที่ตรงตามคำสั่งซื้อและมีคุณภาพตามที่ตกลงกัน เช่น การตรวจสอบจำนวนสินค้าหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ต้องการ
- การบันทึกผลการตรวจสอบ: ทุกครั้งที่ทำการตรวจสอบการรับหรือส่งสินค้า ระบบจะมีการบันทึกผลการตรวจสอบ เช่น ผ่านการตรวจสอบ, ต้องแก้ไข, หรือไม่ผ่านการตรวจสอบ
- การจัดการกับสินค้าคุณภาพไม่ผ่าน: หากสินค้าหรือวัตถุดิบไม่ผ่านการตรวจสอบ ระบบสามารถกำหนดให้มีการแยกสินค้าหรือคืนสินค้าไปยังซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตเพื่อปรับปรุงคุณภาพ
3. การจัดการเอกสารและรายงานการตรวจสอบคุณภาพ - รายงานการตรวจสอบคุณภาพ: ระบบสามารถแสดงรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพ ทั้งในกระบวนการผลิตและการรับส่งสินค้า เช่น จำนวนสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบ, ผลการตรวจสอบในแต่ละจุด, หรือจำนวนสินค้าที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ
- การบันทึกเอกสาร QC: สามารถบันทึกเอกสารการตรวจสอบ เช่น ใบรายงานการตรวจสอบหรือใบรับรองคุณภาพ เพื่อให้สามารถอ้างอิงในอนาคตได้
- การจัดการข้อบกพร่อง: หากพบข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในการตรวจสอบ ระบบสามารถสร้างคำแนะนำหรือการดำเนินการที่ต้องทำ เช่น การปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือการปรับปรุงการจัดส่ง
4. การวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพ - การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์: ระบบสามารถเก็บข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตและการรับส่งสินค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์หาความเสี่ยงหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- การวิเคราะห์แนวโน้มคุณภาพ: คุณสามารถใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบคุณภาพเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น สินค้าบางประเภทมีปัญหามากกว่าอื่นๆ หรือปัญหาที่พบในการตรวจสอบระหว่างการผลิต
|
ระบบบัญชี (Accounting Management) | 1.การออกเอกสารบัญชีฝั่ง "รับชำระ (Customer Payment)" อย่างอัตโนมัติ - สร้างและส่งใบแจ้งหนี้ลูกค้า (Customer Invoices) และ ใบเสร็จรับเงิน (Customer Receipts) ได้โดยอัตโนมัติ เอกสารจะถูกสร้างจากการขายสินค้า/บริการ หรือจากใบสั่งขาย (Sales Order)
- ระบบช่วยสร้างเลขที่เอกสารเรียงลำดับอัตโนมัติตามรูปแบบที่กำหนด เช่น INV/2025/0001, RCPT/2025/0001 ฯลฯ
- ตั้งค่ารูปแบบเอกสารเป็นภาษาไทย หรือปรับแต่งให้ตรงกับรูปแบบของกิจการ โลโก้บริษัท, หัวเอกสาร, คำอธิบายสินค้า, ที่อยู่ลูกค้า ฯลฯ
- รองรับการตั้งค่าภาษีขาย (VAT Output) อัตโนมัติในเอกสาร ระบบคำนวณภาษี 7%, 0% หรือไม่มีภาษี ได้อัตโนมัติตามสินค้า/บริการ , รองรับการพิมพ์/ส่งใบกำกับภาษี
2.การออกเอกสารบัญชีฝั่ง "จ่ายชำระ (Vendor Payment)" อย่างอัตโนมัติ - สร้างใบเรียกเก็บจากผู้ขาย (Vendor Bills) อัตโนมัติจากใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ระบบช่วยออกเอกสารพร้อมบันทึกภาษีและบัญชีโดยอัตโนมัติ
- ออกใบจ่ายเงิน (Vendor Payment) เพื่อบันทึกการชำระเงินให้กับผู้ขาย รองรับหลายช่องทาง เช่น โอนเงิน เช็ค เงินสด ฯลฯ
- ระบบช่วยสร้างเลขที่เอกสารเรียงลำดับอัตโนมัติ เช่น VB/2025/0001, PAY/2025/0001 ตามรูปแบบที่กำหนด
- สามารถตั้งค่ารูปแบบเอกสารเป็นภาษาไทย แสดงชื่อเอกสาร, รายละเอียดสินค้า, ภาษี ฯลฯ เป็นภาษาไทยได้
- ตั้งค่าภาษีซื้อ (VAT Input) อัตโนมัติในเอกสาร รองรับภาษี 7%, 0% และกรณีที่ไม่มีภาษี พร้อมรองรับการหัก ณ ที่จ่าย (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย Vendor)
- แนบเอกสารประกอบ เช่น ใบกำกับภาษีหรือใบแจ้งหนี้จากผู้ขาย แนบ PDF, รูปภาพ
|